9 กันยายน 2567

ข่าวประชาสัมพันธ์, ประชาสัมพันธ์

การอบรมเพื่อทำความเข้าใจแบบสำรวจและการบันทึกข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับกระบวนการปฏิบัติงานวิจัยภาคสนามสำหรับพนักงานสัมภาษณ์ ภายใต้โครงการพัฒนากลไกความร่วมมือเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชนไทย ตามแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแ

การอบรมเพื่อทำความเข้าใจแบบสำรวจและการบันทึกข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับกระบวนการปฏิบัติงานวิจัยภาคสนามสำหรับพนักงานสัมภาษณ์ ภายใต้โครงการพัฒนากลไกความร่วมมือเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชนไทย ตามแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแบบองค์รวม (Whole-of-School Approach to Physical Activity: WoSPA)

        ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2567 ณ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ. ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) พร้อมคณะวิจัย ได้ทำการแนะนำโครงการฯ หลักจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ (IRB) และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) อีกทั้งนางสาวณัฐพร นิลวัตถา หัวหน้ากลุ่มงานวิเคราะห์สถานการณ์และนโยบาย, นายอภิชาติ แสงสว่าง, นางสาวพนิตชญา ลิ้มศิริ, นายกฤษณ อร่ามศรี ได้แนะนำระเบียบวิธีการวิจัย กระบวนการของงานภาคสนาม และอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำความเข้าใจและทดสอบแบบสอบถาม พร้อมแนะนำการใช้แบบสอบถามบน Lime Survey และการให้ความสำคัญกับระบบการตรวจสอบคุณภาพข้อมูล (DATA Quality) เพื่อควบคุมคุณภาพของข้อมูล โดยนายดนุสรณ์ โพธารินทร์ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาฐานข้อมูลและการพยากรณ์ให้แก่พนักงานสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือสำหรับการวิจัยอย่างสูงสุด

  

        กิจกรรมดังกล่าวเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมและใช้ประโยชน์เพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชนไทย ภายใต้แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชน (พ.ศ. 2566 – 2573) รวมถึงนำไปใช้เพื่อวางแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายแบบองค์รวมได้อย่างเหมาะสม ครอบคลุมการกำหนดนโยบาย การสร้างโอกาสกิจกรรมทางกายในช่วงเวลาต่าง ๆ การจัดพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรม การส่งเสริมพลศึกษาที่มีคุณภาพ และกิจกรรมสำหรับกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้โรงเรียนนำร่องได้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล โดยใช้แนวคิดหลักตามข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแบบองค์รวม (Whole-of-school approach to Physical Activity) ขององค์การอนามัยโลก และเพื่อเตรียมขยายผลการดำเนินงานสู่โรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป