3 เมษายน 2566

ข่าวประชาสัมพันธ์, ประชาสัมพันธ์

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมกระบวนการปฏิบัติภาคสนามโครงการการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชนให้กับผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการการสังเคราะห์กลไกต้นแบบของชุมชน และพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อผู้สูงอายุในชุมชน

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมกระบวนการปฏิบัติภาคสนามโครงการการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชนให้กับผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการการสังเคราะห์กลไกต้นแบบของชุมชน และพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อผู้สูงอายุในชุมชน

       เมื่อวันเสาร์ ที่ 1-2 เมษายน 2566 เวลา 8.00 – 17.00 น. ณ มานะ มานี co working space และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คุณสิทธิชาติ สมตา นักวิจัยหลักของโครงการฯ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาร์ก เฟิลแคร์ และ ดร. ดิยาฮ์ อนันตาเลีย วิดยาสตาริ อาจารย์ประจำสถาบันฯ พร้อมกับนักวิจัยจากศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) ได้แก่ คุณณรากร วงษ์สิงห์, คุณวณิสรา เจริญรมย์, คุณดนุสรณ์ โพธารินทร์, คุณณัฏฐนันท์ ศิริโกสุม, คุณวิสุตา มั่นสิงห์, คุณณัฐพร นิลวัตถา และคณะนักวิจัย ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมกระบวนการปฏิบัติภาคสนามโครงการการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชนให้กับผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการการสังเคราะห์กลไกต้นแบบของชุมชน และพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งได้รับทุนการสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประเภท Fundamental Fund ประจำปีงบประมาณ 2566 จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ของศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเตรียมการปฏิบัติการทำความเข้าใจแนวทางการทำงาน แบบสำรวจและการบันทึกข้อมูล รวมถึงการรวบรวมข้อมูลสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของประชากรสูงอายุให้แก่นักวิจัยโครงการและพนักงานสัมภาษณ์ จำนวน 25 คน เพื่อเตรียมกระบวนการปฏิบัติภาคสนามโครงการการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชนให้กับผู้สูงอายุ

    

       การอบรมดังกล่าวภายใต้ “การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชนให้กับผู้สูงอายุ” เพื่อนำข้อมูลจากการสำรวจไปใช้ประโยชน์เพื่อการวางแผน กำหนดนโยบาย และการพัฒนาต้นแบบกลไกของชุมชนในการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุในชุมชน รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของประชากรไทยต่อไป