การพัฒนาเครื่องมือสำรวจสถานการณ์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายใน 5 Setting
รายละเอียด
เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ต่าง ๆ ที่สำคัญใน 5 Setting ได้แก่ สถานศึกษา สถานประกอบการ สถานบริการสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานด้านคมนาคมและผังเมือง โดยข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป
สมาคมกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Sport Association: JSPO)
รายละเอียด
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) มีความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการส่งเสริมให้เด็กไทยมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) รวมทั้งมีทักษะและพัฒนาการด้านร่างกายที่สมวัยด้วยการร่วมกันพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมการเล่นในบริบทไทยที่ประยุกต์แนวคิดมาจากโครงการ Active Child Program (ACP) ของสมาคมกีฬาประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความร่วมมือมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานภาคีสนับสนุนและนโยบายที่สำคัญ และสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เป็นภาคีร่วมดำเนินงาน
การนำเสนอเพื่อขอรับการแต่งตั้งเป็นศูนย์ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก หรือ WHO-CC ด้านกิจกรรมทางกาย
รายละเอียด
ศูนย์TPAKได้นำส่งเอกสารเกี่ยวกับการขอรับการแต่งตั้งเป็นศูนย์ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก หรือ WHO-CC ด้านกิจกรรมทางกาย ต่อมามีการเตรียมการโดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและคำแนะนำจาก สสส. เพื่อนำเสนอทีโออาร์ (TOR) ผ่านการประชุมออนไลน์ Zoom กับ ดร.ฟิโอนา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2564 และต่อมาในเดือนเมษายน ได้มีการนำเข้าข้อมูลสู่ระบบขององค์การอนามัยโลก
ต้นแบบโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรทางกาย โรงเรียนฉลาดเล่น: Active School
รายละเอียด
โครงการ “โรงเรียนฉลาดเล่น” (Active School) เป็นโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัย มหิดล สำนักงานกองทนุสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐาน (สพฐ.) และโรงเรียนต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 17 โรงเรียน เป้าหมายหลักของโครงการวิจัย คือ การพัฒนาแนวทางการขยายผลต้นแบบการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนผ่านกระบวนการกิจกรรมร่วมกับโรงเรียน เพื่อให้เกิดรูปแบบของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนฉลาดเล่น (Active School) ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย สามารถนำไปใช้เพื่อการขยายผลของการดำเนินงานในระดับประเทศต่อไป
แบบตรวจสอบรายการ (Check list) พื้นที่สุขภาวะและสิ่งแวดล้อม (Built Environment Check List) ในโครงการพื้นที่ต้นแบบการสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะของชุมชนการเคหะแห่งชาติ
รายละเอียด
การพัฒนาเครื่องมือวัดพฤติกรรมด้านการมีกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกายและเล่นกีฬา รวมถึงพฤติกรรมทางสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของแบบสอบถาม โดยใช้ครื่องมือวัดระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอขององค์การอนามัยโลก มาใช้เป็นส่วนข้อคำถามหลักสำหรับเก็บข้อมูลระดับการมีกิจกรรมทางกาย หรือ Global Physical Activity Questionnaire Version II (GPAQ V.2) และเพิ่มข้อคำถามด้านการรับรู้ ผลกระทบ และการปรับตัวในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยมีการทดสอบระดับความเชื่อมั่นและความแม่นตรงของแบบสอบถามก่อนนำ มาใช้ในโครงการวิจัย กลุ่มเป้าหมาย: ประชากรไทยทุกช่วงวัย
เครื่องมือวัดกิจกรรมทางกายช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2563
รายละเอียด
การพัฒนาเครื่องมือวัดพฤติกรรมด้านการมีกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกายและเล่นกีฬา รวมถึงพฤติกรรมทางสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของแบบสอบถาม โดยใช้ครื่องมือวัดระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอขององค์การอนามัยโลก มาใช้เป็นส่วนข้อคำถามหลักสำหรับเก็บข้อมูลระดับการมีกิจกรรมทางกาย หรือ Global Physical Activity Questionnaire Version II (GPAQ V.2) และเพิ่มข้อคำถามด้านการรับรู้ ผลกระทบ และการปรับตัวในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยมีการทดสอบระดับความเชื่อมั่นและความแม่นตรงของแบบสอบถามก่อนนำ มาใช้ในโครงการวิจัย กลุ่มเป้าหมาย: ประชากรไทยทุกช่วงวัย
แบบตรวจสอบรายการ (Check list)สำหรับการประเมินความปลอดภัยในการจัดการแข่งขันกีฬาเพื่อมวลชน
รายละเอียด
การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการ (Check list) เป็นการประยุกต์ข้อมูลจาก 3 ชุด คือ 1) มาตรการจัดแข่งขันวิ่ง New normal 2) คู่มือจัดการแข่งขันวิ่งและมาตรการจัดแข่งขันภายใต้การแพรร่ ะบาด COVID-19 และ 3) รายการตรวจสอบการบรรเทาความเสี่ยงในการรวมตัวของคนหมู่มากสำหรับสถานการณ์ของโรค COVID-19: ภาคผนวกสำหรับการจัดการแข่งขันกีฬา (WHO) นำมาสู่การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการ (Check list) สำหรับกีฬามวลชน 2 ชุด คือ 1) แบบสำรวจความคิดเห็นจากประสบการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรมการจำลองมาตรการจัดกิจกรรมวิ่งแบบ New Normal ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และ 2) แบบประเมินตรวจสอบรายการ (Check list) มาตรการจัดแข่งขันวิ่งภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลุ่มเป้าหมาย: ผู้จัดกีฬาและมหกรรมมวลชนเพื่อสุขภาพ
เครื่องมือการสำรวจมาตรการการจัดงานวิ่งตามคู่มือ และ WHO ภายหลังการแพร่ระบาดโควดิ -19
รายละเอียด
การพัฒนาเครื่องมือการสำรวจในรูปแบบของแบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต โดยแบบสัมภาษณ์จะเป็นการสอบถามความคิดเห็นกับนักวิ่ง ผู้ชม/ผุ้ติดตาม และทีมงาน (Staff) เกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมการจำลองมาตรการจัดกิจกรรมวิ่งแบบ New Normal ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และแบบสังเกตจะเป็นการประเมินความเหมาะสมของการจำลองมาตรการจัดกิจกรรมวิ่งแบบ New Normal ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non- Participant Observation) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation)
ระบบการติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน สำหรับเครือข่ายโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนฉลาดเล่น: Active School
รายละเอียด
เป็นระบบฐานข้อมูลออนไลน์ ที่จะช่วยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเข้าร่วมในโครงการโรงเรียนฉลาดเล่นสามารถรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และเป็นพื้นที่ในการแบ่งปันข้อมูกิจกรรม หรือนโยบายการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่น่าสนใจระหว่างโรงเรียนที่อยู่ในเครือข่าย โดยการเข้าใช้งานระบบผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้ตลอดเวลา กลุ่มเป้าหมาย: ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ รวมถึงนักวิจัย นักชาการ หรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ระบบการอบรมแบบออนไลน์ สำหรับครูแกนนำที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนฉลาดเล่น : Active School
รายละเอียด
การพัฒนาหลักสูตรการอบรมครูแกนนำโรงเรียนฉลาดเล่น จากเดิมที่ต้องจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเต็มรูปแบบอย่างน้อย 3 - 5 วัน เป็นการอบรมผ่านระบบออนไลน์ที่ครูสามารถเข้าอบรมและสะสมชั่วโมงการอบรมได้ตามความสะดวก โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเข้าร่วมอบรม โดยภายในระบบจะมีช่องทางสำหรับการส่งรายงาน ผลงานและการประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย: คุณครูในโรงเรียนประถมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนฉลาดเล่น https://tpak.or.th/th/article/203
ระบบการอบรมแบบออนไลน์ สำหรับครูแกนนำที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนฉลาดเล่น : Active School
รายละเอียด
การพัฒนาหลักสูตรการอบรมครูแกนนำโรงเรียนฉลาดเล่น จากเดิมที่ต้องจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเต็มรูปแบบอย่างน้อย 3 - 5 วัน เป็นการอบรมผ่านระบบออนไลน์ที่ครูสามารถเข้าอบรมและสะสมชั่วโมงการอบรมได้ตามความสะดวก โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเข้าร่วมอบรม โดยภายในระบบจะมีช่องทางสำหรับการส่งรายงาน ผลงานและการประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย: คุณครูในโรงเรียนประถมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนฉลาดเล่น
เครื่องมือในการวิเคราะห์สถานะการดำเนินงานเชิงนโยบายในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
รายละเอียด
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษากรอบในการดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของ GAPPA และค้นคว้าเพื่อหาแนวทางปฏิบัติ กฎ ข้อบังคับการดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับสากล เพื่อนำมาวิเคราะห์ตามกรอบการประเมิน CAPPA และสรุปแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พร้อมทั้งค้นหาช่องว่างของความรู้ในการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย: ประชากรทุกกลุ่มวัย
โครงการพัฒนาต่อยอด TPAK website
รายละเอียด
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย เป็นโครงการวิจัยที่ได้เริ่มเก็บข้อมูลการสำรวจกิจกรรมทางกายมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 จนถึงปัจจุบัน โดยข้อมูลเหล่านั้นยังไม่ได้มีการจัดการที่ดีในรูปแบบฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อเตรียมพร้อมในการนำเสนอเป็นข้อมูลข่าวสารบบ TPAK website การที่ข้อมูลไม่มีการจัดการฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ในศูนย์ฯ ขาดการเชื่องโยงกัน ทำให้ยากต่อการนำข้อมูลมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการพัฒนาต่อยอดระบบ TPAK website โดยเฉพาะในส่วนของระบบการจัดการข้อมูลทั้งหมดที่มีในรูปแบบฐานข้อมูล เพื่อก่อให้เกิดการใช้งานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุดทั้งในรูปแบบสื่อ Online ทั้งบน TPAK website และสื่อ Social media อื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายยิ่งขึ้นในทุกกลุ่มประชากร
โครงการพัฒนา Dashboard สถานการณ์พฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกาย และพฤติกรรมเนือยนิ่งของประชากรไทย
รายละเอียด
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) ได้เริ่มต้นการเก็บข้อมูลการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน ด้วยแบบวัดระดับกิจกรรมทางกายสากล (GPAQ v.2) ตามหมวดของการมีกิจกรรมทางกายที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้นิยามไว้ตามรูปแบบการเคลื่อนไหวร่างกายชีวิตประจำวัน ซึ่งข้อมูลกิจกรรมทางกายที่ได้จากการสำรวจในแต่ละปีที่ผ่านมาจะถูกนำมาวิเคราะ สังเคราะห์ให้ง่ายต่อการการนำเสนอในลักษณะของแผนภูมิภาพในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจถึงรูปแบบ และระดับของกิจกรรมทางกาย
Website TPAK และ TPAK Big data
รายละเอียด
ใช้ในการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร องค์ความรู้ และผลผลิตทางวิชาการ ตลอดจนกิจกรรมของศูนย์รวมถึงภาคีเครือข่ายศูนย์ ตลอดจนมีความเชื่อมโยงกับแหล่งฐานข้อมูล TPAK Big Data เพื่อการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ในการสื่อสารสาธารณะ และการสื่อสารทางนโยบายที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรไทย เพื่อการมีสุขภาวะองค์รวมที่อ้างอิงข้อมูล และองค์ความรู้จากการวิจัยทางด้านกิจกรรมทางกายในมิตทิ างประชากรศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มเป้าหมาย: นักวิชาการ ภาคี เครือข่าย และประชาชนทั่วไป ที่สนใจองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกาย
Facebook Fan Page ในชื่อ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย – TPAK
รายละเอียด
Facebook Fan Page เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการนำเสนอข้อมลู ข่าวสาร องค์ความรู้ และผลผลิตของศูนย์ ที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อใช้ในการสื่อสารสาธารณะ และการสื่อสารทางนโยบายที่จำเป็นต่อการสนับสนุนกการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรไทย
กลุ่มเป้าหมาย: นักวิชาการ ภาคี เครือข่าย และประชาชนทั่วไป ที่สนใจองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกาย
Dashboard โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2563 ด้วยโปรแกรม Power BI
เครื่องมือสำรวจพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมสุขภาพของประชากรไทย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ด้วย Lime Survey
เครื่องมือสำรวจข้อมูลในโครงการการสำรวจความคิดเห็นจากประสบการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรมการจำลองมาตรการจัดกิจกรรมว่งิ แบบ New Normal ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด - 19 Thai Health Day Run 2020 ด้วย Quicktionnaire
รายละเอียด
เป็นการจัดทำแบบสอบถามบน platform ออนไลน์ Quicktionnaire ในโครงการการสำรวจความคิดเห็นจากประสบการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรมการจำลองมาตรการจดั กิจกรรมวิ่งแบบ New Normal ภายใตส้ ถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 Thai Health Day Run 2020 กลุ่มเป้าหมาย: พนักงานเก็บข้อมูลออนไลน์ของศูนย์ประชากรทุกกลุ่มวัย
การพัฒนาเครื่องมือประเมินการลงทุนด้านกิจกรรมทางกาย 8 ประการ (EIGHT INVESTMENTS THAT WORK FOR PHYSICAL ACTIVITY) ในบริบทประเทศไทย
รายละเอียด
ประเทศไทยถือเป็นประเทศสมาชิกที่ขับเคลื่อนดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอแก่ประชากรไทยตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับโลก หรือ Global Action Plan on Physical Activity 2018-2030 (GAPPA) ขององค์การอนามัยโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการดำเนินงานส่งเสริมให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอนั้นมีความซับซ้อนและต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนการทั้งในระดับบุคคล ชุมชน สังคม รวมถึงนโยบายระดับชาติ ประเทศไทยมีการกำหนดนโยบายที่เป็นแผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573 อันสอดคล้องกับองค์กรอนามัยโลก โดยมีเป้าหมายสำคัญ 4 เรื่องหลัก คือ สร้างบรรทัดฐานสังคมที่ไม่เนือยนิ่ง (Active societies) สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย (Active environments) สร้างโอกาสต่อการมีกิจกรรมทางกายระดับบุคคล (Active people) และสร้างระบบที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย (Active systems) อันประกอบไปด้วย 20 ข้อเสนอทางนโยบายที่ครอบคลุมและสอดคล้องกับบริบทที่นานาประเทศสามารถนำไปดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และในปี 2020 International Society for Physical Activity and Health หรือ ISPAH ได้จัดทำคู่มือแนะนำการลงทุนด้านกิจกรรมทางกาย ภายใต้ 20 ข้อเสนอทางนโยบายของ GAPPA โดยที่ลงทุนแล้วถือว่าคุ้มค่าที่สุดต่อการส่งเสริมกจิกรรมทางกาย 8 ประการ ได้แก่
1) โปรแกรมเต็มรูปแบบของโรงเรียน (WHOLE-OF-SCHOOL PROGRAMMES)
2) การเดินทางที่กระฉับกระเฉง (ACTIVE TRAVEL / TRANSPORT)
3) การออกแบบเมืองให้มีความกระฉับกระเฉง (ACTIVE URBAN DESIGN)
4) การบริการสุขภาพ (HEALTHCARE)
5) การศึกษาสาธารณะที่รวมถึงสื่อมวลชน (PUBLIC EDUCATION, INCLUDING MASS MEDIA)
6) กีฬาและนันทนาการสำหรับทุกคน (SPORTS AND RECREATION FOR ALL)
7) สถานที่ทำงาน (WORK PLACES) และ 8) COMMUNITY-WIDE PROGRAMMES ดังนั้น การพัฒนาเครื่องมือประเมินการลงทุนด้านกิจกรรมทางกาย 8 ประการในบริบทประเทศไทย จะช่วยเป็นข้อมูลให้นักวิชาการ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำเครื่องมือไปใช้สำรวจ รวบรวม วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจด้านนโยบายในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับประชากรทั้งวัยเด็กและวัยรุ่น วัยทำงาน และวัยสูงอายุ ทั้งในระดับชุมชนและระดับชาติ
ความเหลื่อมล้ำของการมีกิจกรรมทางกายในประเทศไทย
รายละเอียด
การสำรวจข้อมูลพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมสุขภาพของประชากรไทย (SPA) ปี 2012-2021 ระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บข้อมูลแบบสำรวจออนไลน์เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระหว่างในปี 2020-2021 สถานการณ์ด้านการมีกิจกรรมทางกายของประชากรไทยได้สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางและความเหลื่อมล้ำทางโอกาสสำหรับชุมชนและผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ในการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เท่าเทียมกัน และความไม่เป็นธรรมของระบบส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เป็นอยู่ ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญสถานการณ์เช่นนี้ไปในทิศทางเดียวกัน จึงนำไปสู่การเปิดตัว Fair Play Brief ขึ้นในปี 2021 ผ่านมา เพื่อให้ข้อสรุปการดำเนินการด้านกิจกรรมทางกายเป็นวาระสำคัญที่ประเทศสมาชิกรวมถึงประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญและนำไปสู่การออกแบบและดำเนินการเชิงนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับประชากรที่หลากหลายให้มีความเป็นธรรมและเสมอภาคในโอกาสและการเข้าถึงการมีกิจกรรมทางกายมากยิ่งขึ้น
บทความตีพิมพ์วิชาการ Physical activity level of Thai children and youth: Evidence from Thailand’s 2018 report card on physical activity for children and youth
รายละเอียด
จากข้อมูลรายงานระดับการมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทยปี 2016 (TRC) ได้พัฒนามาจากการสำรวจกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย (TPACS) ปี 2015 ซึ่งเป็นโครงการสำรวจสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเด็กนักเรียนจำนวน 16,788 คน อายุระหว่าง 6 - 17 ปี จาก 336 โรงเรียน ใน 27 จังหวัดจาก 9 ภูมิภาครวมทั้งกรุงเทพมหานคร และจากข้อมูลการเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประเทศไทยปี 2015 - 2017 (SPA) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเด็กและเยาวชน อายุ 5 – 18 ปี จาก SPA ปี 2015 จำนวน 1,480 คน SPA ปี 2016 จำนวน 1,404 คน และ SPA ปี 2017 จำนวน 1,267 คน โดยใช้แบบสอบถามกิจกรรมทางกายระดับสากล version 2.0 (Global Physical Activity Questionnaires, version 2.0; GPAQ) พิจารณาตัวชี้วัดหลัก 9 ด้าน ได้แก่ 1) การมีกิจกรรมทางกายโดยรวมในแต่ละวัน 2) การเล่นกีฬาและกิจกรรมทางกายที่มีโครงสร้าง 3) การเล่นออกแรง 4) การเดินทางที่ใช้แรงกาย 5) พฤติกรรมเนือยนิ่ง
6) ครอบครัวและบุคคลรอบข้าง 7) โรงเรียน 8) ชุมชนและสิ่งแวดล้อม และ 9) ยุทธศาสตร์
บทความตีพิมพ์วิชาการเรื่อง Prevalence and Trends of Physical Activity in Thai Children and Young People: Pooled Panel Data Analysis from Thailand’s Surveillance on Physical Activity 2012 – 2020
รายละเอียด
จากการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมสุขภาพของประชากรไทย (SPA) ปี 2012 – 2020 เป็นระยะเวลา 9 ปีโดยในปี 2020 ได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บข้อมูลแบบสำรวจออนไลน์เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นำข้อมูลการมีกิจกรรมทางกายมาอธิบายระดับและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนต่อไป
บทความตีพิมพ์วิชาการเรื่อง Prevalence of sufficient MVPA among Thai adults: pooled panel data analysis from Thailand’s surveillance on physical activity 2012 – 2019
รายละเอียด
จากการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมสุขภาพของประชากรไทย (SPA) ปี 2012 – 2019 จำนวน 8 รอบ โดยรวบรวมข้อมูล 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 จาก SPA ปี 2012 – 2016 จำนวน 5648 คน และกลุ่มที่ 2 จาก SPA ปี 2017 – 2019 จำนวน 6,074 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเพื่อเลือกประชากรวัยผู้ใหญ่ สัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไปเพื่อสร้างชุดข้อมูลที่เป็นตัวแทนระดับประเทศ ใช้วิธีการสัมภาษณ์จากผู้ตอบแบบสอบถามโดยตรง เก็บตัวอย่างจาก 5 ภูมิภาค 13 จังหวัด 36 โดยใช้แบบสอบถามกิจกรรมทางกายระดับสากล version 2.0 (Global Physical Activity Questionnaires, version 2.0; GPAQ) เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและพฤติกรรมสุขภาพของคนไทย
บทความตีพิมพ์วิชาการเรื่อง The Effect of Containment Measures during the Covid-19 Pandemic to Sedentary Behavior of Thai Adults: Evidence from Thailand’s Surveillance on Physical Activity 2019 – 2020
รายละเอียด
จากชุดข้อมูลการเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประเทศไทย (SPA) ปี 2019 และปี 2020 ใช้เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมเนือยนิ่ง (SB) ของประชากรไทยอายุ 18 - 64 ปี ในช่วงก่อนและระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิเคราะห์ คือ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม 5,379 คน จาก SPA ปี 2019 และกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม 6,531 คน จาก SPA ปี 2020 โดยใช้แบบสอบถามโดยใช้แบบสอบถามกิจกรรมทางกายระดับสากล version 2.0 (Global Physical Activity Questionnaires, version 2.0; GPAQ) เพื่อใช้เคราะห์พฤติกรรมเนือยนิ่ง (SB) ทั้งสองช่วงเวลา
การนำเสนอผลงานของภาคีเครือข่ายบน TPAK website
รายละเอียด
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (Thailand Physical Activity Knowledge Development Centre : TPAK) เป็นศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนและการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตามเป้าหมายระดับชาติ โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนองค์ความรู้ และสร้างพื้นที่ทางวิชาการ สำหรับการทำวิจัยทางด้านกิจกรรมทางกายในประเด็นที่เกี่ยวข้อง จัดทำฐานข้อมูล รวมถึงวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการสื่อสารสาธารณะ อีกทั้งยังมีเป้าหมายในการเป็นศูนย์เพื่อสื่อสารทางนโยบายที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของภาคีเครือข่ายที่สามารถนำมาเผยแผ่บนหน้า home page ของ TPAK website เพื่อเป็นสื่อกลางในการเข้าถึงบทความของภาคีเครือข่ายในช่องที่กว้างมากยิ่งขึ้น
เครือข่ายความร่วมมือกับ The Centre for addiction and mental health, Canada เพื่อ การพัฒนาองค์ความรู้ในการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลนโยบายในการลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือ OHT
รายละเอียด
การพัฒนาองค์ความรู้ในการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลนโยบายทางเลือกต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือ OHT เพื่อนำผลการศึกษาไปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและเป็นทางเลือกในการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบายในการลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ นำสู่การเผยแพร่เป็นผลงานวิชาการ ซึ่งเป็นการดำเนินโดยผ่านข้อตกลงความร่วมมือกับ The Centre for addiction and mental health, Canada
หนังสือ: Regenerating Physical Activity in Thailand after COVID-19 Pandemic: ฟื้นกิจกรรมทางกายในประเทศไทยหลังวิกฤติโควิด -19
รายละเอียด
ภายใต้สถานการณ์ของประเทศที่ต้องการองค์ความรู้ในนเชิงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จากปรากฏการณ์ดังกล่าวถือเป็นสิ่งใหม่และต้องการการศึกษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายต้นแบบและแนวทางในการดำเนินนโยบายกับประชากรกลุ่มต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้เป็นไปอย่างรอบด้าน สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมสุขภาวะของประชากรได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของสถานการณ์ ทีแพคจึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของบุคคล กลุ่มบุคคล เพื่อผลิตผลงานทางวิชาการที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานเชิงนโยบาย การนำไปสู่การปฏิบัติ และขยายผล ผ่านหนังสือนี้
กลุ่มเป้าหมาย: ประชากรไทยทุกช่วงวัย
บทความตีพิมพ์วิชาการเรื่อง The effects of the COVID-19 pandemic on the physical activity of the Thai population: Evidence from Thailand’s Surveillance on Physical Activity 2020
รายละเอียด
จากชุดข้อมูลการเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประเทศไทย (SPA) ปี 2019 และปี 2020 ได้ถูกใช้เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีกิจกรรมทางกายของประชากรไทยอายุ 18-64 ปี ในช่วงก่อนและระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิเคราะห์ คือ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม 4,460 คน จาก SPA ปี 2019 และกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม 4,482 คน จาก SPA ปี 2020 โดยใช้แบบสอบถามกิจกรรมทางกายระดับสากล version 2.0 (Global Physical Activity Questionnaires, version 2.0) เพื่อใช้วัดการมีกิจกรรมทางกายในทั้งสองช่วงเวลา
กลุ่มเป้าหมาย: นักวิชาการ ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจเรื่องกิจกรรมทางกายในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
บทความตีพิมพ์วิชาการเรื่อง ‘Does the community use the built environment?’ Assessing the utilization of healthy space model in bridging physical activity inequalities for the Thai population
รายละเอียด
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความไม่เท่าเทียมกันของการใช้ประโยชน์พื้นที่สุขภาวะที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเทศไทยในรูปแบบและพื้นที่ที่แตกต่างกันโดยใช้การวิจัยแบบ Cross-sectional survey ด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวกับกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในชุมชนจำนวน 2,046 คน ผลการศึกษาพบว่า คนที่อาศัยอยู่ใกล้กับสถานที่ออกกำลังกาย (Sports complex) จะเข้ามาใช้พื้นที่สุขภาวะมากถึง ร้อยละ 48 ผลการทดสอบความแตกต่างของระดับการมีกิจกรรทางกายที่เพียงพอของกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ใกล้สถานที่ออกกำลังกาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เคยเข้าไปใชพื้นที่สุขภาวะจะมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสูงกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยเข้าไปใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=6.387***) โดยข้อสรุปสำคัญของการศึกษานี้คือ การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะช่วยขจัดความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคมได้ แต่ไม่สามารถขจัดความไม่เท่าเทียมทางอายุและความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่สุขภาวะได้
กลุ่มเป้าหมาย: นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย
บทความวิชาการเรื่อง ความสัมพันธ์ของการแกล้งและการถูกแกล้งในเด็กวัยประถมกับความรู้สึกผูกพันธ์ต่อโรงเรียน
รายละเอียด
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อความสัมพันธ์ของการแกล้ง และการถูกแกล้งในเด็กประถมวัย กับความรู้ผูกพันธ์ที่มีต่อโรงเรียน โดยใช้การวิจัยแบบ Cross-sectional survey โดยวิธีการสัมภาษณ์ตัวต่อตัวกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างประมาณ 8,500 คน จากโครงการพัฒนาตัวชี้วัด และฐานข้อมูล เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาวะของเด็กและเยาวชนไทยในโรงเรียน โดยผลของการศึกษานี้จะทำให้ทราบถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหา/ลดการแกล้งของเด็กภายในโรงเรียนด้วยการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน
กลุ่มเป้าหมาย: เด็กวัยประถม (อายุ 6 – 12 ปี)
ตีพิมพ์บทความวิชาการเรื่อง การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนด้วยแนวคิด 4PC
รายละเอียด
การขาดกิจกรรมทางกายในกลุ่มเด็กเป็นปัญหาที่หลายประเทศกำลังเผชิญ แนวทางแก้ไขปัญหาในประเทศไทยคือ การพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงรียนโดยจัดทำเป็นโครงการวิจัยแบบกึ่งการทดลอง (Quasi-experimental study with Cases-Control group design) เพื่อหากระบวนการที่เหมาะสมกับบริบทไทย โดยผลจากการติดตามข้อมูลนักเรียนคนเดิมที่อยู่ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3 ปี พบว่า แนวคิดที่ใช้ในโครงการวิจัย หรือ แนวคดิ 4PC ซงึ่ มีองคป์ ระกอบที่สำคัญ 5 ส่วนในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนใหมี้ประสิทธิผล ได้แก่ 1) Active Policy หรือการกำหนดนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน 2) Active Program หรือโปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระหว่างวัน 3) Active Place หรือการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกายและปลอดภัยในโรงเรียน 4) Active People หรือการมีส่วนรว่ มของบุคลากรภายในโรงเรียน และ 5) Active Classroom หรือการจัดการเรียนรู้บบ Active Learning ที่ส่งเสริมให้กับนักเรียนได้เคลื่อนไหวร่างกายในห้องเรียน
กลุ่มเป้าหมาย: นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะของชุมชนการเคหะแห่งชาติ ปี 2562
รายละเอียด
การประเมินผลโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการสร้างเสริมวิถีชีวิตสสุขภาวะของชุมชนการเคหะแห่งชาติ ในช่วงก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างการดำเนินการ และดำเนินการแล้วเสร็จ ในเชิงผลผลิต ผลกระทบและผลลัพธ์ตามกรอบแนวคิด RE-AIM และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของชุมชนไปสู่ชุมชนที่สร้างเสริมวิถีสุขภาวะ ตลอดจนการถอดบทเรียนการดำเนินงาน
และข้อเสนอแนะต่าง ๆ จะทำให้ได้ข้อเสนอและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาแผนงาน/โครงการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชน
การเคหะแห่งชาติ
กลุ่มเป้าหมาย: ชุมชนต้นแบบพื้นที่สุขภาวะการเคหะแห่งชาติ จำนวน 21 พื้นที่ พื้นที่เดิมจำนวน 4 ชุมชน และพื้นที่ใหม่จำนวน 17 ชุมชน
รายงานโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2563 รอบที่ 1 (การสำรวจพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมสุขภาพของประชากรไทย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19)
รายละเอียด
ในการดำเนินการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมสุขภาพของประชากรไทย ปี พ.ศ. 2563 ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Method) โดยใช้แบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์ ด้วยวิธีการส่งแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ จากแอปพลิเคชั่น เฟซบุ๊ค (Facebook) ที่มีพนักงานรวบรวมข้อมูลที่ผ่านการอบรมเป็นผู่ส่งและรับแบบสอบถามกับผู้ให้ข้อมูล ที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของประชากรไทย เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายในขอบเขตพื้นที่และช่วงระยะเวลาของการศึกษาวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย: ประชากรไทยทุกกลุ่มวัย
รายงานการประเมินความเหมาะสมในการจัดงานสาธิตการจัดแข่งขันวิ่งเทรลและถนน ภายหลังการแพร่ระบาดโควิด-19
รายละเอียด
การประเมินความเหมาะสมในการจัดงานสาธิตการจัดแข่งขันวิ่งเทรลและถนน ภายหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 สรุปข้อเสนอแนะที่จำเป็นในการจดั กิจกรรมงานวิ่งและกีฬามวลชนในช่วงของสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคโควดิ- 19 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัย ปลอดเชื้อในการจัดกิจกรรมสุขภาพและกีฬา และสนับสนุนองค์ความรู้ที่จำเป็นเบื้องต้นให้กับภาคีเครือข่ายยที่เกี่ยวข้องสำหรับนำข้อมูลไปใช้ประกอบในการกำหนดมาตรการการจัดแข่งขันวิ่งที่มีมาตรฐานและปลอดภัยในครั้งต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย: ผู้จัดกีฬามวลชนและนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเพื่อมวลชน
การประชุมระดับสากล 8th ISPAH Virtual Congress (Vancouver 2021)
รายละเอียด
TPAK มีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานในการประชุมระดับสากล 8th ISPAH Virtual Congress (Vancouver2021) เป็นเวทีวิชาการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการมีกิจกรรมทางกายและสุขภาพประจำปี ซึ่งจัดขึ้นแบบออนไลน์ในวันที่ 12-14 ตุลาคม พ.ศ.2564 ซึ่งจัดขึ้นโดยองค์กร International Society for Physical Activity and Health (ISPAH) ในประเทศแคนาดา โดยมีแนวคิดหลัก “แนวทางองค์รวมสู่สุขภาพและการเป็นอยู่ที่ดีผ่านการมีกิจกรรมทางกาย ทั้งร่างกาย จิตวิญญาณและจิตใจ”
ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รายละเอียด
การทำงานร่วมในเชิงวิชาการและความเชี่ยวชาญต่างสาขาเพื่อพัฒนาเครื่องมือเชิงนวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยทางภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ใช้ความเชี่ยวชาญด้านการสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาแอปพลิเคชันเบาใจ ในขณะที่ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย เป็นผู้ร่วมทำงานในฐานะของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านระเบียบวิธีวิจัยและการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
ข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อขยายผลโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเทศไทย (Active School)
รายละเอียด
แนวคิดหลักในการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายจากชุดโครงการโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย หรือโรงเรียนฉลาดเล่น: Active School เป็นงานวิจยั ที่มีข้อค้นพบในเชิงประสิทธิผลว่าสามารถช่วยเพิ่มกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และช่วยเสริมพัฒนาการของนักเรียนได้ โดยเฉพาะในด้านวิชาการและการคิดวิเคราะห์ ด้วยมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ข้อเสนอเชิงนโยบายได้มาจาการสังเคราะห์และถอดบทเรียนการทำงานรว่ มกบั ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่เข้าร่วมโครงการ ข้อเสนอเชิงนโยบายหลัก: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ควรมีนโยบายให้โรงเรียนในสังกัดนำแนวคิด โรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (Active School) ไปเป็นนโยบายที่ช่วยเสรมิสุขภาพ พัฒาการ และสมรรถนะใหกับนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย: ผู้กำหนดนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนกลางและจังหวัด
การพัฒนาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร สสส. เรื่อง บทบาทศูนย์วิชาการฐานข้อมูลด้านกิจกรรมทางกาย เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายของการดำเนินงานของ สสส. และภาคี
รายละเอียด
การขับเคลื่อนประเด็นกิจกรรมทางกายทั้งในระดับสากลและระดับชาติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือสำหรับประกอบการตัดสินใจเชิง ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) ทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลเพื่อตอบเป้าหมายระดับชาติและทิศทางการทำงานของ สสส. เพื่อให้เกิดนโยบายที่สนับสนุนการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของกลุ่มเป้าหมาย ตอบเป้าหมายระดับแผนเรื่องการมีฐานข้อมูลเพื่อนโยบายสาธารณะ โดยการใช้ข้อมูลวิชาการมาประกอบการที่มีความน่าเชื่อถือของข้อมูลรวมถึงคุณภาพสามารถประเมินสถานการณ์ด้านกิจกรรมทางกาย กำหนดนโยบายและสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายได้อย่างเหมาะสม
การประยุกต์ใช้กรอบแนวคิด CAPPA model เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์นโยบาย
รายละเอียด
กรอบแนวคิดของ Comprehensive Analysis of Policy on Physical Activity หรือ CAPPA คือกรอบในการวิเคราะห์นโยบายที่ดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการวิเคราะห์ตามองค์ประกอบทั้งสิ้น 38 องค์ประกอบ ครอบคลุมทั้ง 6 หมวดหมู่ ได้แก่ หมวดที่ 1 วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ (Purpose of analysis) ประกอบด้วยการตรวจสอบ และการประเมินนโยบาย หมวดที่ 2 ระดับของนโยบาย (Policy level) ประกอบด้วยนโยบายระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น และระดับสถานบัน หมวดที่ 3 ภาคส่วนนโยบาย (Policy sector) ประกอบด้วยภาคสุขภาพ กีฬา นันทนาการและการพักผ่อน การศึกษา ขนส่ง สิ่งแวดล้อม การวางแผนและการออกแบบเมือง/ชนบท การท่องเที่ยว การทำงานและการจ้างงาน การเงินสาธารณะ และภาคการวิจัย หมวดที่ 4 ประเภทของนโยบาย (Type of policy) ประกอบด้วยนโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการ คำแถลงที่เป็นทางการที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร แนวทางและมาตรฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ขั้นตอนที่เป็นทางการ และนโยบายที่ไม่เป็นทางการ หมวดที่ 5 ขั้นตอนของวัฏจักรเชิงนโยบาย (Stage of policy cycle) ประกอบด้วยการกำหนดวาระ การบัญญัติ การรับรอง/การทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย การดำเนินการ การประเมิน การรักษาให้คงอยู่ การยุติ และการขยายผลอย่างต่อเนื่อง และหมวดที่ 6 ขอบเขตของการวิเคราะห์ (Scope of analysis) ประกอบด้วยความพร้อมใช้งาน บริบท กระบวนการ ผู้ผลักดัน เจตจำนงทางการเมือง เนื้อหา และผลกระทบ
การทบทวนและพัฒนาเครื่องมือเพื่อประเมินความรอบรู้ทางกาย (Physical Literacy) สำหรับ ประชากรทุกช่วงวัย
รายละเอียด
ความรอบรู้ทางกาย (Physical Literacy) ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนระดับการมีกิจกรรมทางกายของประชากรทุกกลุ่มวัย ความรอบรู้ทางกายที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นจะนำไปสู่พฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ สำหรับเครื่องมือประเมินความรอบรู้ทางกาย (Physical Literacy) จะทำให้ทราบถึงระดับความรอบรู้ทางกายในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำไปสู่มาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม ดังนั้นการสังเคราะห์การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) ในประเด็นความรอบรู้ทางกาย (Physical Literacy) จะนำไปสู่แนวทางการพัฒนาชุดเครื่องมือการประเมินความรอบรู้ทางกาย (Physical Literacy) ที่สอดคล้องกับบริบทของประชากรไทยมากยิ่งขึ้น
การทบทวนชุดสิทธิประโยชน์ทางสุขภาพของระบบประกันสังคมกับระบบกองทุนสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
รายละเอียด
ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับข้อมูลความแตกต่างของสิทธิประโยชน์ของระบบประกันสังคมกับระบบกองทุนสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาถึงโอกาส ช่องว่างทางนโยบาย ความเป็นไปได้ในการจัดทำนโยบายหรือมาตรการ สำหรับใช้ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับประชากรวัยทำงานที่เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม โดยข้อมูลชุดดังกล่าวจะนำไปใช้ในการสื่อสารกับผู้กำหนดนโยบายของสำนักงานประกันสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการศึกษาวิจัยถึงประสิทธิผลและความเป็นไปได้ในเชิงนโยบาย รวมถึงความคุ้มค่าต่อการลงทุนในระยะต่อไป
โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2563 (การสำรวจออนไลน์)
รายละเอียด
การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Method) ในการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมสุขภาพของประชากรไทย ปี 2563 ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลระดับบุคคล โดยใช้แบบสอบถามรูปแบบออนไลน์ เนื่องจากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัจจุบันประชากรไทยมีการเข้าถึงและเข้าใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น โดยใช้ชุมชนออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ค (Facebook) สู่การพัฒนาวิธีการสำรวจข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ด้วยวิธีระเบียบวิธีวิจัย เพื่อให้ได้กลุ่มประชากรตัวอย่างที่เป็นตัวแทนในระดับประเทศ ดำเนินการสำรวจข้อมูลในพื้นที่ชุมชนเขตเมืองและชุมชนเขตชนบททั้ง 77 จังหวัด โดยประชากรที่ศึกษา คือ ประชากรไทย ทุกเพศ ทุกวัย ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Internet) ผ่านช่องทางแอปพลิเคชั่นเฟสบุ๊ค (Facebook)
กลุ่มเป้าหมาย: นักวิจัย นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจประเด็นด้านกิจกรรมทางกายในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความหมายของ Physical Literacy
รายละเอียด
การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Method) ในการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมสุขภาพของประชากรไทย ปี 2563 ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลระดับบุคคล โดยใช้แบบสอบถามรูปแบบออนไลน์ เนื่องจากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัจจุบันประชากรไทยมีการเข้าถึงและเข้าใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น โดยใช้ชุมชนออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ค (Facebook) สู่การพัฒนาวิธีการสำรวจข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ด้วยวิธีระเบียบวิธีวิจัย เพื่อให้ได้กลุ่มประชากรตัวอย่างที่เป็นตัวแทนในระดับประเทศ ดำเนินการสำรวจข้อมูลในพื้นที่ชุมชนเขตเมืองและชุมชนเขตชนบททั้ง 77 จังหวัด โดยประชากรที่ศึกษา คือ ประชากรไทย ทุกเพศ ทุกวัย ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน้ต (Internet) ผ่านช่องทางแอปพลิเคชั่นเฟสบุ๊ค (Facebook)
กลุ่มเป้าหมาย: นักวิจัย นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจประเด็นด้านกิจกรรมทางกายในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับเครื่องมือในการวัด Physical Literacy (Instruments to measure Physical Literacy)
รายละเอียด
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review) จากเอกสารงานวิจัยในระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือที่ใช้ในการวัด Physical Literacy ของประชากรแต่ละช่วงวัย ได้แก่ วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยสูงอายุ โดยต้องเป็นงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2016-2020 จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
กลุ่มเป้าหมาย: ประชากร 4 ช่วงวัย ได้แก่ วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยสูงอายุ
การทบทวนและวิเคราะห์นโยบายในประเด็นการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย (Create active environments) ตามกรอบแผน GAPPA ด้วยกรอบแนวคิด CAPPA
รายละเอียด
ทบทวนและวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น การสร้างบรรทัดฐานสังคมที่ไม่เนือยนิ่ง ตามกรอบแผน GAPPA (Global Action Plan on Physical Activity 2018-2030) ประกอบด้วย 5 หัวข้อย่อย ดังนี้ 1) เสริมสร้างการบรูณาการของนโยบายการวางผังเมืองและการวางแผนคมนาคมขนส่ง 2) ยกระดับการบริการด้วยการพัฒนาโครงสร้างเครือข่ายของการเดินและการปั่นจักรยาน เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการเคลื่อนไหวโดยยานพาหนะที่มีล้อต่าง ๆ (รวมถึงวิลแชร์ สกูตเตอร์ และสเกต) และการใช้การขนส่งสาธารณะในที่ชุมชนเมือง ชานเมือง และชนบท 3) กระตุ้นการขับเคลื่อนนโยบายเชิงปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความปลอดภัยบนท้องถนน 4) เสริมสร้างให้ประชาชนทุกวัย ทุกสมรรถภาพร่างกาย สามารถเข้าถึงพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว และศูนย์กีฬาคุณภาพดี 5) ส่งเสริมให้เกิดการสร้าง หรือปรับเปลี่ยนสถานที่สาธารณะ โรงเรียน สถานพยาบาล ศูนย์กีฬาและนันทนาการ สถานที่ทำงานและที่พักอาศัยใ โดยการวิคราะห์ด้วยเครื่องมือการประเมินนโยบายตามกรอบแนวคิด CAPPA (Comprehensive Analysis of Policy on Physical Activity)
กลุ่มเป้าหมาย: กลุ่มประชากรวัยทำงาน
การทบทวนและวิเคราะห์นโยบายในประเด็น การสร้างระบบที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย (Create active systems) ตามกรอบแผน GAPPA ด้วยกรอบแนวคิด CAPPA
รายละเอียด
ทบทวนและวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น การสร้างระบบที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ตามกรอบแผน GAPPA (Global Action Plan on Physical Activity 2018-2030) ที่ประกอบด้วย 5 หัวข้อย่อย ดังนี้ 1) การสร้างความเข้มแข็งให้กับนโยบาย ความเป็นผู้นำ และโครงสร้างการบริหารงาน ในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น 2) ปรับปรุงและรวบรวมระบบข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังการมีกิจกรรมทางกายการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนระบบสำรวจเฝ้าระวัง 3) เสริมสร้างงานวิจัยพัฒนาเพิ่มศักยภาพด้านการประเมินผลให้กับหน่วยงานวิจัยระดับประเทศและสถาบันวิจัย 4) ขยายการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายยกระดับ การสนับสนุนการเพิ่มความตระหนัก ความรู้ และความมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานร่วมกันในทุกระดับ 5) พัฒนาระบบนวัตกรรมทางการเงิน เสริมความเข้มแข็งให้กลไกทางการเงินเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานที่ยั่งยืน
กลุ่มเป้าหมาย: กลุ่มประชากรทุกกลุ่มวัย
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในประเด็นเกี่ยวกับ การรณรงค์ให้คำแนะนำและสร้างความ ตระหนักในการมีกิจกรรมทางกาย (Awareness campaign and brief advice)
รายละเอียด
ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review) จากเอกสารงานวิจัยในระดับนานาชาติ โดยใช้ Keyword ต่อไปนี้ในการสืบค้นวรรณกรรม 1) Awareness campaign 2) Brief advice และ 3) Physical activity จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 3 แหล่ง ได้แก่ 1) PubMed 2) Scopus และ 3) Web of Science เพื่อทำการวิเคราะห์ โดยใช้หลักการ PICO ในการคัดเลอื กงานวิจัยที่ตรงกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ในประเด็นที่เกี่ยวกับการรณรงค์ให้ คำแนะนำ และสร้างความตระหนักในการมีกิจกรรมทางกาย
กลุ่มเป้าหมาย: กลุ่มประชากรทุกกลุ่มวัย
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในประเด็นเกี่ยวกับ การมีกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุใน สถานที่ต่าง ๆ (Physical activity for older adult in different setting)
รายละเอียด
กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป วิธีการดำเนินงาน: ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review) จากเอกสารงานวิจัย ในระดับนานาชาติ โดย ใช้ Keyword ต่อไปนี้้ในการสืบค้นวรรณกรรม 1) Physical activity 2) Older adult และ 3) Setting จากฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ 3 แหลง่ ได้แก่ 1) PubMed 2) Scopus และ 3) Web of Science เพื่อทำการวิเคราะห์ โดยใชหลักการ PICO ในการคัดเลือก งานวิจัยที่ตรงกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ในประเด็นที่เกี่ยวกับการมีกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ลานกีฬาในหมู่บ้าน ฟิตเนส สวนสาธารณะ หรือที่บ้าน เป็นต้น
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในประเด็นเกี่ยวกับ การใช้ชุมชนเป็นฐานในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (Community wide)
รายละเอียด
กลุ่มเป้าหมาย: ประชากรทุกกลุ่มวัยที่อาศัยในชุมชน วิธิการดำเนินงาน: ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review) จากเอกสารงานวิจัย ในระดับนานาชาติ โดย ใช้ Keyword ต่อไปนี้ในการสืบค้นวรรณกรรม 1) Community 2) Physical activity และ 3) Initiative จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 5 แหล่ง ได้แก่ 1) PubMed 2) Scopus 3) Web of Science 4) Science Direct และ 5) Ebsco เพื่อทำการวิเคราะห์ โดยใช้หลักการ PICO ในการคัดเลือกงานวิจยั ที่ตรงกับเกณฑท์ที่ตั้งไว้ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ในประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้ชุมชนเป็นฐานในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย แนวคิดหลัก: การทบทวนและวิเคราะหส์ ถานการณ์และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ การใช้ชุมชนเป็นฐานในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในระดับสากลว่าแต่ละประเทศมีการดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายอย่างไร เพื่อนำมาวิเคราะห์สัง เคราะห์เป็น แนวทางและข้อเสนอเชิงนโยบายด้านกิจกรรมทางกาย
การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ ภาพรวมนโยบายด้านกิจกรรมทางกายในระดับสากล(Overview physical activity policy in global)
รายละเอียด
กลุ่มเป้าหมาย: ประชากรทุกกลุ่มวัย วิธีการดำเนินงาน: ทบทวนวรรณกรรมจากเอกสารงานวิจัยในระดับนานาชาติ โดยใช้ Keyword ต่อไปนี้ในการสืบค้น วรรณกรรม 1) Physical activity 2) Policy และ 3) Sedentary จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 5 แหล่ง ได้แก่ 1) PubMed 2) Scopus 3) Web of Science 4) Science Direct และ 5) Wiley online library เพื่อทำการวิเคราะห์ โดยใช้หลักการ PICO ใน การดัดเลือกงานวิจัยที่ตรงกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ สัง เคราะห์ในประเด็นที่เกี่ยวกับภาพรวมของนโยบาย ด้านกิจกรรมทางกายในระดับสากล แนวคิดหลัก: การทบทวนและวิเคราะห์สถานการณ์และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมนโยบายด้านกิจกรรมทางกายใน ระดับสากล ในระดับสากลว่าแต่ละประเทศมีการดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายอย่างไร เพื่อนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์เป็น แนวทางและข้อเสนอเชิงนโยบายด้านกิจกรรมทางกาย
การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ ภาพรวมนโยบายด้านกิจกรรมทางกายในประเทศไทย (Overview physical activity policy in Thailand)
ชุดข้อมูลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะของชุมชนการเคหะแห่งชาติ ปี 2562
ชุดข้อมูลการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในเด็กและวัยรุ่นไทย
ชุดข้อมูลโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย : โรงเรียนฉลาดเล่น ปี 2559-2562
ชุดข้อมูลการเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2555-2562
การทบทวนและวิเคราะห์นโยบายในประเด็น การสร้างบรรทัดฐานสังคมที่ไม่นือยนิ่ง (Create active societies) ตามกรอบแผน GAPPA ด้วยกรอบแนวคิด CAPPA
รายละเอียด
ทบทวนและวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ ทั้งงานวิจัยแผนปฏิบัติการ และนโยบายที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับประเด็น การสร้างบรรทัดฐานนสังคมที่ไม่เนือยนิ่ง ตามกรอบแผน GAPPA (Global Action Plan on Physical Activity 2018-2030) ที่ประกอบด้วย 4 หัวข้อย่อย ดังนี้ 1) รณรงค์การสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม 2) ส่งเสริมความเข้าใจต่อหลักการผลประโยชน์ร่วม 3) สนับสนุนการจัดกิจกรรมมวลชนฟรีให้ประชาชนจำนวนมากได้มีกิจกรรมทางกาย และ 4) พัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน โดยการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือการประเมินนโยบายตามกรอบแนวคิด CAPPA (Comprehensive Analysis of Policy on Physical Activity)
กลุ่มเป้าหมาย: ประชากรทุกกลุ่มวัย
การทบทวนและวิเคราะห์นโยบายในประเด็น การสร้างกิจกรรมและโอกาสให้ประชาชนไม่เนือยนิ่ง (Create active people) ตามกรอบแผน GAPPA ด้วยกรอบแนวคิด CAPPA
รายละเอียด
ทบทวนและวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการสร้างกิจกรรมและโอกาสให้ประชาชนไม่เนือยนิ่ง ตามกรอบแผน GAPPA (Global Action Plan on Physical Activity 2018-2030) ที่ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ดังนี้ 1) การสร้างองค์ความรู้กิจกรรมทางกายในโรงเรียน 2) รวมกิจกรรมทางกายเข้าในการบริการสุขภาพและสังคม 3) จัดลำดับโปรแกรมสำหรับผู้ที่มีกิจกรรมน้อยที่สุด 4) เริ่มต้นการใช้ชุมชนเป็นฐานการเพิ่มกิจกรรมทางกาย 5) แนะนำโปรแกรมการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ออกกำลังกายที่หลากหลาย 6) แนะนำการเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือการประเมินนโยบายตามกรอบแนวคิด CAPPA (Comprehensive Analysis of Policy on Physical Activity)
กลุ่มเป้าหมาย: ประชากรทุกกลุ่มวัย
ชุดข้อมูลการเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2555-2562
ชุดข้อมูลการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในเด็กและวัยรุ่นไทย
ชุดข้อมูลโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย : โรงเรียนฉลาดเล่น ปี 2559-2562
ชุดข้อมุลการพัฒนาทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อลดวิถีเนือยนิ่งของประชากรวัยทำงาน
ชุดข้อมูลการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในเด็กและวัยรุ่นไทย
ชุดข้อมูลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะของชุมชนการเคหะแห่งชาติ ปี 2562
ชุดข้อมูลโครงการการประเมินผลการจัดกรีฑาผู้สูงอายุแห่งชาติ ปี 2562
ชุดข้อมูลการเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2555-2562
ชุดข้อมูลโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย : โรงเรียนฉลาดเล่น ปี 2559-2562
การสนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการเพื่อจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 1 ปี 3 ปี และ10 ปี
รายละเอียด
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในปี 2563 ที่ส่งผลให้ระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยทุกกลุ่มวัยในภาพรวมลดลง พฤติกรรมเนือยนิ่งสูงขึ้น ภายใต้การดำเนินงานและการขับเคลื่อนนโยบายด้านกิจกรรมทางกายดังกล่าว เน้นหลักการทำงานที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานทั้งในระดับสากลและระดับชาติ โดยในระดับสากลที่สอดคล้องกับ SDGs และ 4 กลยุทธ์หลักของ GAPPA คือ 1. Active Society 2. Active environment 3. Active people และ 4. Active system ซึ่งก็สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับชาติ พ.ศ. 2561-2573 ด้วย ตลอดจนการขับเคลื่อนนโยบายกิจกรรมทางกายของแผนฯ ยังเป็นไปตามแนวทางการลงทุนเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 8 ด้าน โดยองค์การอนามัยโลก โดยจุดเน้นของแผนระยะ 3 ปี (2565-2567) มีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อพลิกฟื้นระดับการมีกิจกรรมทางกายของคนไทยทุกช่วงวัยและทุกระดับไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สถานประกอบการ ให้กลับมาดังค่าเป้าหมายและเป็นไปตามค่าเป้าหมายทั้งในระดับสากลและระดับชาติ เพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตวิถีใหม่ท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน และเตรียมพร้อมสู่การใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดีในอนาคต
การสนับสนุนการสังเคราะห์ ThaiHealth Showcase 20th Anniversary of ThaiHealth: Healthy Lifestyle
รายละเอียด
เนื่องจากปี 2564 เป็นปีครบรอบ 20 ของการก่อตั้ง สสส. ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมสุขภาพคนไทยมาตลอด โครงการดังกล่าวจึงมุ่งเน้นที่จะแสดงผลงานที่น่าภาคภูมิใจที่ สสส.ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมโครงการ ชุดความรู้ โมเดลต้นแบบ หรือฐานข้อมูล เป็นต้น รวมทั้งประชาสัมพันธ์แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายของ สสส.
ให้เห็นถึงแนวทางและจุดเน้นของการทำงานในปัจจุบันและอนาคตที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนไทย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง รวมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค NCDs รวมถึงการปรับตัวท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบันและการปรับตัวในยุค Next normal โดยมีแนวคิดที่สำคัญคือ
1. สสส.กับความร่วมมือในระดับนานาชาติ (Cooperation between ThaiHealth and WHO) ลดการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอลงร้อยละ 10 และลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรค NCDs ร้อยละ 25 ภายในปี 2025
2. การเดินทางของกิจกรรมทางกาย (Walk together with ThaiHealth) เรื่องราวเกี่ยวกับสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ ริเริ่มแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พร้อมทั้งการทำงานร่วมกันหลากหลายภาคีตั้งแต่ จุดเริ่มต้นจนถึง แผนปัจจุบัน
3. NCDs ภัยใกล้ตัวในยุคโควิด (NCDs during the COVID-19 pandemic) สถานการณ์และพฤติกรรมเนือยนิ่ง อันเนื่องมาจากผลกระทบจากโรค COVID-19 / ตระหนักรู้ถึงต้นเหตุ และผลกระทบ
4. คืนวิกฤติ ฟื้นฟูสุขภาวะชีวิตวิถีใหม่ (Healthy Lifestyle Next Normal) ทั้ง 1) Active People 2) Active 3) Society Active Environment
กิจกรรมในการแลกเปลี่ยนประเด็นพูดคุยในหัวข้อ พ่อแม่แวะมาคุย: ลูกบ้านไหนติดจอมาแชร์กัน
รายละเอียด
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิค ส่งผลให้เด็กนักเรียนต้องเรียนออนไลน์ อีกทั้งพ่อแม่ต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from home) ทำให้พ่อแม่ต้องทำหน้าที่หลายบทบาทในแต่ละวัน ทั้งการทำงานและต้องเป็นครูจำเป็นในเวลาเดียวกัน ภาระหน้าที่ที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลถึงความเครียดของผู้ปกครอง จึงเป็นที่มาในการพูดคุย เล่าถึงปัญหาที่พบเจอ และแชร์ประสบการณ์ทางออกของปัญหานี้ร่วมกันในกลุ่มผู้ปกครอง
คู่มือแนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรค กรณีการหมดสติหรือเสียชีวิตขณะวิ่งในที่สาธารณะ (สำหรับผู้ปฏิบัติงาน)
รายละเอียด
ปัจจุบันประชาชนให้ความสำคัญต่อการออกกำลังกายด้วยการวิ่งเพิ่มขึ้นจากสถิติตัวเลขนักวิ่งในไทยของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าในปี พ.ศ. 2545 มีจำนวนนักวิ่ง 5.8 ล้านคน ปี พ.ศ.2559 มีจำนวนนักวิ่ง 12 ล้านคน และในปี 2560 มีจำนวนนักวิ่งเพิ่มเป็น 15 ล้านคน ในช่วงปี พ.ศ. 2559 – 2560 มีการจัดกิจกรรมแข่งขันวิ่งบนถนนทั้งหมด 1,305 รายการ เฉลี่ยเดือนละ 54 รายการ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักวิ่งในประเทศไทยและจำนวนการจัดกิจกรรมแข่งขันวิ่งนั้น อาจทำให้เกิดความเสี่ยงจากการหมดสติหรือการเสียชีวิตขณะวิ่งในที่สาธารณะเพิ่มขึ้น โดยจากผลการวิเคราะห์สถานการณ์โรคกรณีการหมดสติหรือเสียชีวิตในขณะวิ่งในที่สาธารณะโดยกรมควบคุมโรค พบว่าหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นนักกีฬาที่ไม่มีโรคประจำตัว การซักประวัติหรือการตรวจร่างกายเบื้องต้นไม่สามารถระบุความเสี่ยงได้ อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลของผู้เกิดเหตุการณ์ที่ชัดเจน จึงทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลสถานการณ์การหมดสติหรือเสียชีวิตขณะวิ่งในที่สาธารณะ มาประกอบการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง แนวโน้มการเกิดเหตุการณ์ และการติดตามสถานการณ์สำหรับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคได้
คู่มือส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับบุตรหลานที่บ้านสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง
รายละเอียด
พ่อแม่ผู้ปกครองมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับบุตรหลานแม้ว่าปัจจุบันจะมีสถานศึกษาเป็นสถานบันหลักที่ช่วยสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กก็ตาม โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เด็ก ๆ ไม่ได้ไปโรงเรียน เช่น วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ปิดภาคเรียน หรือในช่วงที่โรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียนได้ตามปกติและเด็ก ๆ ต้องเรียนอยู่ที่บ้าน เช่น ช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ให้กับบุตรหลาน เพื่อช่วยให้บุตรหลานได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเด็ก ๆ จำเป็นจะต้องมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมวัย ดังนั้น คู่มือฉบับดังกล่าวนี้จึงผสานกิจกรรมการเรียนรู้ตามสาระการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็กวัยประถมศึกษา และกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับช่วงวัยเข้าด้วยกัน เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้มีทางเลือกในการใช้กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับช่วงวัยและความต้องการของบุตรหลาน
คู่มือสารตั้งต้นเล่ม 2 “ห้องเรียนฉลาดรู้”
รายละเอียด
คู่มือ “สารตั้งต้น : สนามฉลาดรู้ เป็นเครื่องมือสำหรับครูที่อยู่ในโรงเรียนฉลาดเล่นได้นำไปใช้ต่อยอดความคิด จากตัว อย่างกิจกรรมที่มีอยู่ในคู่มือให้เกิดเป็นกิจกรรมใหม่ ๆ ที่มีความแตกต่างหลากหลาย ท้าทาย และเหมาะสมตามช่วงวัยของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยเนน้นตัวอย่าง “การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน” ที่กระตุ้น ให้นักเรียนได้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง โดยมีหลกั การจดั กิจกรรมที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ 1) แกนหลักของกิจกรรม (Concept) หรือวิธีการหลกั ในการดำเนินกิจกรรม เช่น การตอบคำถามตามโจทย์ การเติมคำในช่องว่าง การใช้ทักษะการรวมจำนวนตัวเลข เป็นต้น 2) เนื้อหาของกิจกรรม (Content) ตามกลุ่มสาระวิชาที่สามารถนำมาใช้ในนการทำกิจกรรมได้ เช่น การเรียนเรื่องเศษส่วน การคณู การท่องคำศัพท์ ความรู้รอบตัว ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ เป็นต้น
กลุ่มเป้าหมาย: ครูในโรงเรียนประถมศึกษา
แนวทางการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะชุมชนต้นแบบการเคหะแห่งชาติ
รายละเอียด
การจัดทำแนวทางการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ชุมชนต้นแบบการเคหะแห่งชาติ เป็นการเผยแพร่ชุดความรู้พื้นฐานของพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะของชุมชนการเคหะแห่งชาติ 4 พื้นที่ที่มีการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะชุมชนโดยมีการดำเนินงานภายใต้ 4 โครงการหลัก คือ 1. โครงการเตรียมความพร้อมชุมชน 2. โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชน 3. โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และสุขภาพจิต 4. โครงการโภชนาการและบริการสุขภาพ และเป็นคู่มือที่ดีให้กับผู้นำชุมชนของการเคหะแห่งชาติอีกหลายพื้นที่ในการแนะนำแนวทางสำหรับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่ผู้นำชุมชนสามารถนำไปปรับใช้สำหรับการพัฒนาชุมชนส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะ เพื่อการมีสุขภาวะที่ดีและลดการเกิดโรคในกลุ่ม NCDs ของสมาชิกในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ที่ปฏิบัติงานในด้านพัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชนการเคหะแห่งชาติ