29 มิถุนายน 2566

ข่าวประชาสัมพันธ์, ประชาสัมพันธ์

อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิจัยจากทีแพค ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุม The International Society of Behavioral Nutrition and Physical Activityอาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิจัยจากทีแพค

อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิจัยจากทีแพค ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุม The International Society of Behavioral Nutrition and Physical Activity

       เมื่อวันที่ 14-17 มิถุนายน 2566 อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ปิยวัฒน์ เกตุวงศา, อาจารย์ ดร. ดิยาฮ์ อนันตาเลีย วิดยาสตาริ และคณะนักวิจัยจากศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมการประชุม The International Society of Behavioral Nutrition and Physical Activity (ISBNPA) the 22nd Annual Meeting 2023 ณ Uppsala Konsert & Kongress (UKK) venue เมืองอุปซอลา ประเทศสวีเดน

       การนี้ได้ไปนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์ รวมทั้งหมด 5 เรื่อง โดยใน Award Session - Implementation & Sustainability | Policies and Environments นายณรากร วงษ์สิงห์ ได้นำเสนอเรื่อง Investments in community-wide initiative in physical activity: how do we evaluate its implementation and public participation? ในส่วนของการนำเสนอรูปแบบ Oral Presentation รศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ได้นำเสนอเรื่อง Refining index to measure physical activity inequality: which group of population is the most vulnerable?, อาจารย์ ดร. ดิยาฮ์ อนันตาเลีย วิดยาสตาริ เรื่อง Effectiveness of a Whole-of-School Intervention to Improve Physical Activity for Children: Evidence from Cohort Study in Primary Schools in Thailand, นางสาวณัฐพร นิลวัตถา เรื่อง Policy evaluation on the whole-of-school investment in physical activity promotion in Thailand และนายดนุสรณ์ โพธารินทร์ นำเสนอแบบ Poster Presentation เรื่อง Economic valuation of brief advice intervention as part of routine care: How much does it cost to reduce the prevalence of physical inactivity and to avert death from NCDs? ซึ่งการนำเสนอผลการวิจัยและระเบียบวิธีการวิจัยจากการศึกษาของประเทศไทยทั้ง 5 เรื่อง ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก